Friday, November 15, 2019

ย้าย FIN Article, Blog ข้อมูลต่างๆ ไปที่ https://www.finapp.online/

ข้อมูลเกี่ยวกับ FIN App ในเชิง Article, Blog หรือ Video ใดๆ ย้ายไปที่ Website: https://www.finapp.online/ 


ที่เว็บนี้จะไม่มีการ Update ข้อมูลใดๆ นะครับ 

Thursday, March 10, 2016

ล่าสุด FIN Version 2.5 (10 March 2016) ขึ้น App Store แล้วครับ

10 March 2016:  วันนี้ FIN App version 2.5 ล่าสุด ขึ้น App Store เรียบร้อยแล้วนะครับ Update กันได้เลยที่  https://itunes.apple.com/th/app/fin-app-kxngthun-rwm-mutual/id972662339?mt=8

โดย theme การปรับปรุงหลักๆ นั้นเน้นเรื่องของการเพิ่มความสามารถด้าน Portfolio แบบเต็มรูปแบบ รายละเอียด คร่าวๆ ดังนี้

1. สามารถตั้งการบันทึก transaction ในอนาคตได้ทั้งแบบ one-time event หรือ recurring events โดย feature นี้ผู้ใช้ไม่ต้องรอราคา NAV ออกตอนเย็นแล้วถึงจะบันทึกได้อีกต่อไป สามารถบันทึกล่วงหน้าได้ตลอดทันที หมดปัญหาเรื่องลืมบันทึก transaction อีกต่อไป




2. สามารถบันทึก transaction ประเภทการสับเปลี่ยนกองทุนได้ โดยรองรับการตั้งเวลาสับเปลี่ยนในอนาคต ด้วยเช่นกัน (ทำงานคู่กับ feature ในข้อ 1)




3. ความสามารถในข้อ 1, 2 สามารถบริหารจัดการ เข้าไป เพิ่ม, แก้ไข, ลบ ค่าที่ตั้งไว้ได้อย่างยืดหยุ่น

4. สามารถแสดง chart ของ wealth และ cost ในมิติของเวลาได้ นั่นหมายความว่า ตัว app สามารถแสดงมูลค่าใน portfolio ทุกวันตั้งแต่วันแรกของการลงทุน (แกน x เป็นแกน เวลา, แกน y เป็นแกนมูลค่า)



5. สามารถแสดง chart ของ portfolio yearly return เป็น ผลตอบแทน ปีต่อปีได้ เพิ่มมิติการมองมูลค่าการเติบโตของ portfolio เพิ่มเติม นอกเหนือจากการมองในมุมมองของ ผลรวมมาโดยตลอด



6. ความสามารถในข้อ 4, 5 ข้างบนนั้น สามารถที่จะ filter ดูที่ระดับทั้ง portfolio หรือว่า ดูเป็นรายกองทุน หรือ ประเภทกองทุน หรือ ตาม บลจ. ได้หมดครับ

7. ความสามารถในข้อ 4, 5 นั้น ยังสามารถแสดงผลในรูปแบบ ตาราง หรืออื่นๆ ได้อีก เรียกได้ว่า ครบถ้วนครบครัน (ต้องลองกดดูทุกปุ่ม แล้วจะทราบเองครับ)



การปรับปรุงส่วนอื่นๆ
- การบันทึก transaction สามารถบันทึก sell transaction ได้สะดวกขึ้นกว่าเดิมมาก
- ปรับปรุงเรื่อง การปัดเศษทศนิยมให้ถูกต้องตามมาตรฐานการคำนวณ จำนวนหน่วยลงทุน
- ปรับปรุง user interface ของ portfolio ให้ดีขึ้น สามารถแสดงผลรายละเอียดได้ทั้งแบบ overview หรือแบบ detail ได้
- นำปุ่ม ผลรวมของมูลค่าที่เปลี่ยนแปลงใน 1 วันกลับมาแล้วครับ โดยสามารถ sum ตาม ประเภทต่างๆ ได้ยืดหยุ่นอย่างมาก
- เพิ่มขั้นตอนการยืนยัน ก่อนที่จะทำการลบ กองทุนใน portfolio

Portfolio แบบ Full Information
Portfolio แบบ Compact Information
   


Bug Fixed
- ในบางกรณี และ กับบางผู้ใช้บางคนที่กดปุ่มรูป chart แล้ว เด้ง โปรแกรมปิดตัวเอง อาการนี้ถูกแก้ไขไประดับใหญ่ๆ แล้วครับ
- ลดอาการ app เด้งหลุดไปมากพอสมควร กรณีที่ เปิดหน้า portfolio และ หน้า transaction list สับไปสับมา คาดว่าโอกาส app เด้ง น่าจะลดลงเหลือน้อยมากๆ แล้วครับ
- ในบางกรณี ที่กดตรงรูปเกียร์ ในหน้า portfolio แล้วไม่สามารถปิดได้ ปัญหานี้แก้เรียบร้อยแล้วครับ


จริงๆ นี่ก็ครบรอบ 1 ปีของการให้บริการ FIN พอดีเลยนะครับ เราเดินมาถึง Version 2.5 พร้อมกับความสามารถที่ไม่สามารถหาได้จากที่อื่น ในเวลานี้  และ เราจะพัฒนาต่อไปครับ :)


มีจุดใดๆ แนะนำ หรือ Feedback เขียนมาได้เลย ขอบคุณครับ

Saturday, December 12, 2015

FIN App กองทุนรวม version 2.4 (12 Dec 2015) ขึ้น App Store แล้วนะครับ

12 December 2015 - FIN App กองทุนรวม Mutual Fund version 2.4 ขึ้น Apple App Store แล้วนะครับ โดย version ใหม่นี้มีอะไรใหม่ๆ บ้าง ดังนี้ครับ





FIN 2.4 นี้จัดว่าเป็น version ที่คลอดก่อนกำหนด เพราะมีปัจจัยเร่งรัดเนื่องจาก critical bug ที่เกิดจาก iOS 9.2 เลยทำให้ต้องรีบแก้ไขแบบทันทีทันใด ซึ่งทำให้ features หลายๆ อย่างที่ผมอยากจะสร้างออกมาใน version ใหม่นี้ ถูกเลื่อนออกไปใน version หน้าหลังปีใหม่แทนนะครับ เรามาดูสรุปด้านล่างกันว่า version 2.4 นี้ปรับปรุงอะไรไปบ้าง

Critical bug fixed
- Search function ในหน้า Fund Rank และ Watchlist กลับมาทำงานได้ตามปกติ

Bug fixed
- ปรับปรุง layout ของหน้าบันทึก Transaction
- ปรับปรุงอาการ เด้งหลุดจาก app ในหน้า Portfolio ในกรณีที่กลับจากหน้า Transaction List

New improvement
- เพิ่มความสามารถให้กับ Fund Rank โดยสามารถ filter ตาม บลจ. ที่กำหนด, นโยบายปันผล, และ ประเภทกองทุนย่อยของกองทุนหลักเช่น RMF สามารถเลือก rank เฉพาะ RMF ที่ลงทุนในตลาดต่างประเทศได้ เป็นต้น
- Fund Rank มีการเพิ่มประเภทกองทุนขึ้นอีกหลายประเภท วิธีการใช้ คือ ให้ลองใช้นิ้วกดค้างไว้บนปุ่มที่แสดงชื่อประเภทกองทุนเช่น RMF, FIF, FIX แล้วจะพบเมนูย่อย
- Portfolio สามารถ group by กองทุน, ประเภทกองทุน และ บลจ. ได้
- Portfolio chart มีการปรับปรุงใหม่ และ สามารถแสดงผล ตาม กองทุน, ประเภทกองทุน และ บลจ.
- Portfolio ส่วนของการ summary total wealth, total return มี parameter ให้กำหนด ว่าจะรวมหรือไม่รวม ค่าใดบ้าง และ ยังกำหนดเรื่อง การหักภาษี ณ ที่จ่ายของเงินปันผลได้

Temporary removed feature
- Portfolio ในส่วนของการคำนวณ ค่าที่เปลี่ยนแปลงใน 1 วันของกองทุนใน portfolio มีการนำออกจาก version นี้ไปก่อนนะครับ เดี๋ยวจะกลับมาใหม่ ใน version ถัดไป

มาดูตัวอย่างหน้าจอด้านล่างกันครับ



เพิ่มความสามารถให้ Fund Rank โดยสามารถ Filter กลุ่มกองทุนย่อยของ RMF, FIF และ FIX ได้ วิธีใช้คือ กดแตะครั้งแรกที่ RMF, FIF หรือ FIX ก่อน  จากนั้น เพื่อเรียกกลุ่มย่อยออกมา ให้กดค้าง หรือ swipe right บนปุ่ม RMF, FIF หรือ FIX (ที่เป็นวงกลม) 





Portfolio มีการปรับปรุงแยกส่วนของ Chart ออกจาก Portfolio ปกติ เพื่อให้แสดงผลได้เต็มที่มากขึ้นและยังสามารถจัดกลุ่มกองทุนใน port โดยแบ่งตาม กองทุน (Fund) ประเภท (Type) หรือ บลจ. (AM)



ภาพตัวอย่าง กรณีแบ่งตาม บลจ. ครับ



Chart ยังมีส่วนการแสดงผลรวมของ เงินปันผลที่ได้รับ แบ่งตาม กองทุน ตามประเภท หรือ ตาม บลจ.






ในส่วนของ Portfolio หน้าหลัก มีการเพิ่ม panel สำหรับให้ผู้ใช้กำหนดเองได้ว่า Total Wealth, Total Return ของตนเองนั้น จะให้รวมค่าใดเข้าไปบ้าง เช่น จะรวม Dividend  หรือ Realized Profit/Loss เข้าไปหรือไม่ ลองกดรูปเกียร์ด้านบน (ใต้เครื่องหมาย +) ดูครับ จะพบกับ แถบ Panel นี้ ถ้าต้องการปิด แถบนี้ ทำได้ 2 แบบ คือกดรูปเกียร์ที่เดิม หรือ ใช้นิ้ว ตวัดขึ้นไปครับ





ในส่วนของ Fund Rank เพิ่มปุ่ม Filter ด้านบนซ้าย สามารถคัดกรองตามความต้องการได้ครับ





กรณีต้องการคัดกรอง เฉพาะบาง บลจ. ก็ทำได้ด้วยเช่นกัน





ในส่วนของ Fund Profile มีการปรับปรุงส่วนของ Chart ใหม่ครับ ให้ Interactive ได้ดีขึ้น




ส่วนของ Top10 Assets ใน Fund Profile ด้วยเช่นกัน ปรับปรุง Chart ใหม่ แต่ ยังมี Bug อยู่นิดนึงเรื่องการแสดงผลของ Chart ครับ เดี๋ยวจะแก้ใน version ถัดไป



ก็เป็น version คลอดก่อนกำหนด เลยทำให้มีเวลาทดสอบไม่มากนักนะครับ เดี๋ยวรวบรวม Bug, Feedback และแก้ไขอีกทีใน version ถัดไป  หากมีความเห็นอื่นๆ ไม่ต้องรอช้า เขียนเข้ามาได้เลยครับ ทางนี้ หรือ ทาง Facebook ก็ได้เช่นกัน  https://www.facebook.com/fin.application/



Tuesday, August 18, 2015

FIN Version 2.3 ออกแล้วนะครับ Update กันได้เลย

18 August 2015 - FIN มี update version ล่าสุดครับ Version 2.3  กด update กันได้เลยครับ  ส่วนรายละเอียดว่ามี อะไรใหม่ ปรับปรุงอะไร  ดูได้ที่ App Store - FIN App กองทุนรวม


Wednesday, August 5, 2015

ทำไมกองทุน Healthcare จึงน่าสนใจ (เตรียมพร้อม เมื่อตลาดโลกเข้าสู่ช่วง Market Correction)

ทำไมกองทุน Healthcare จึงน่าสนใจ
ระยะหลังๆ จะเห็นหลายบลจ. เริ่มออกกองทุนใหม่ๆ ที่เป็นกองทุนต่างประเทศในหมวดอุตสาหกรรม Healthcare เช่น กรุงศรี กสิกร ออกกองทุน under กองทุนแม่ของ JP Morgan Funds - Global Healthcare Fund, UOB  ออกกองทุน under กองทุนแม่ United Global Healthcare Fund  เมื่อปีที่แล้ว  เป็นต้น มาปีนี้ ธนชาต ออก IPO กองทุน under กองทุนแม่ คือ Janus Capital Funds plc - Global Life Sciences Fund เนื่องจากผลตอบแทนที่เติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา โดยดูจาก Benchmark ในอุตสาหกรรม Healthcare (MSCI World Health Care Index) อยู่เหนือ  Benchmark ของตลาดโลก ตั้งแต่ปี 2011 จนถึงปัจจุบัน เป็นผลจากหลัง Hamburger crisis ทำให้ P/E ที่ต่ำกลับมาฟื้นตัวขึ้น บวกกับผลกำไรของบริษัทเพิ่มขึ้น และการปฏิรูปกฎหมายประกันสุขภาพในสหรัฐ (ObamaCare) ซึ่งถือว่ายังเป็นอุตสาหกรรมที่น่าสนใจและมีโอกาสเติบโตต่อไปได้อีก จากการเข้าสู่สภาวะสังคมผู้สูงวัยทั่วโลก โดยคาดการณ์ว่าในปี 2050 จะมีคนสูงอายุ 60+ มากขึ้นเป็น 3 เท่าของปี 2000 รวมทั้งความต้องการชีวิตที่ยืนยาว สุขภาพดี และอื่นๆ

source: MSCI.com



การเปรียบเทียบกองทุนว่าจะลงกองไหนดีผู้ลงทุนควรศึกษาเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนแม่ (Master Fund) ความเสี่ยง และค่าใช้จ่ายต่างๆ ด้วย

โดยก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ Master Fund ของกองทุนที่แต่ละบลจ ได้ไปลงทุนกันก่อน


เปรียบเทียบ Performance กองทุน 4 กองจะเห็นว่าในช่วงต้น 2012 JPMorgan ออกตัวทำ performance อยู่เหนือกองอื่นๆ แต่ช่วงหลัง กอง Janus ทำผลงานได้ออกมาดีมากแซงหน้า JPMorgan ไปด้วยผลตอบแทนอันดับ 1 ใน 1y 50.05% ส่งผลให้ 3y 37.71%, 5y 29.62% ขี้นอันดับ 1 เช่นกัน ตามมาด้วย Wellington ทำได้ดีมากในช่วงหลังเช่นกัน 1y ได้ถึง 46.56% และ JPMorgan 1y ได้ 36.13% หากดูในระยะสั้น 1m, 3m, 6m กอง Janus ทำผลงานออกมาดี รองลงมา Wellington และ JPMorgan อย่างไรก็ตามทั้ง 4 กองมีผลตอบแทนเหนือBenchmark
source: Funds.ft.com


ด้านความเสี่ยง Manulife จะมีความเสี่ยงน้อยสุด แต่ผลตอบแทนก็ลดลงมา ส่วนผลตอบแทนที่เกาะกลุ่มกัน 3 กอง แต่กองของ wellington จะมีความเสี่ยงน้อยกว่า 

source: Funds.ft.com


ด้านค่าใช้จ่าย total expense ratio  กอง Wellington ต่ำสุด คือ 1.35% รองลงมา JPMorgan 1.90% Manulife 1.96%  และสูงสุดคือ Janus 2.48%   initial charge  และ exit charge กอง Wellington ไม่เก็บ ทั้ง 2 ขา อีก 3 กอง เก็บ ขาเข้า  ไม่เกิน 5%  ขาออก JPmorgan ไม่เกิน 0.50% Janus  ไม่เกิน 1% และ Manulife  ไม่เก็บ

นอกจากจะเสียค่าธรรมเนียมจาก master fund แล้ว ก็จะมีค่าธรรมเนียมของกองทุนบลจ. ในไทยด้วย ถ้ารวมกับกองต่างประเทศ BCARE น่าจะเป็นกองที่ค่าใช้จ่ายโดยรวมต่ำสุด แม้ว่าจะมีค่า exit charge แต่กองต่างประเทศไม่เก็บ


การให้ rating ของ morntingstar ระดับ 5 ดาว มี wellington, JPMorgan, Janus , UOB ส่วน Manulife ได้ 3 ดาว


เปรียบเทียบรูปแบบการลงทุน
บลจ. บัวหลวง - กอง master คือ Wellington Global Health Care Fund แม้ว่ากองนี้จะลงในหุ้น Large 30% และ Giant 28% เป็นหลัก แต่ก็เน้นการกระจายหุ้นในส่วนของ Medium Small  Micro  ด้วย  โดยมีหุ้นใน portfolio ถึง 123 ตัว เพื่อที่จะรับผลตอบแทนมากขึ้นจากขนาดของบริษัท และส่วนใหญ่จะเน้นลงใน Pharmaceutical & Biotechnology  75%  โดยการลงใน Biotech ในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงนี้ทำให้ได้รับผลตอบแทนที่สูงมากด้วยเช่นกัน เนื่องจาก Biotech คือ การคิดค้น วิจัย ทำให้เกิดตัวยา วัคซีน ใหม่ๆ หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ในด้านต่างๆ หากมีการจดสิทธิบัตรจะทำให้บริษัทมีมูลค่าสูงขึ้นมาก แต่ก็มีความเสี่ยงด้วยเช่นกัน คือ ตั้งแต่ขั้นตอนวิจัยที่ต้องลงทุนสูง และแม้ว่าจะทำการวิจัยสำเร็จ แต่ขั้นตอนการจดสิทธิบัตรของ FDA มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก และใช้เวลา รวมทั้งค่าใช้จ่ายสูง ทำให้ช่วงนี้ อาจจะทำให้บริษัทขาดทุน และมีความเสี่ยงที่ไม่สามารถจดสิทธิบัตรได้ สัดส่วนการลงทุนแยกตาม region เน้นลงใน US เกือบ 80% ใน Eurozone 13% แต่ที่ต่างจากกองอื่นคือ การลงใน Japan 7%

Wellington
source: trustnetoffshore.com data as of 31/07/2015


บลจ.กรุงศรี, กสิกร - กอง master คือ  JPMorgan Funds - Global Healthcare Fund
เน้นการลงทุนในหุ้นยักใหญ่พื้นฐานดี โดยมีหุ้น Giant มากที่สุดถึง 57% และ Large 21%  จำนวนหุ้นใน portfolio มี  89 ตัว ทั้งนี้หุ้นใน 10 อันดับแรกใน portfolio มีหุ้นยักใหญ่ 7 ตัวติดอันดับ Top 10 market cap คือ Johnson & Jonnson, Novartis, Roche Holding, Gilead Sciences, UnitedHealth Group, และ Bayer  เน้นลงทุนใน  Pharmaceutical 50% Biotech & Medical  26%  สัดส่วนการลงทุนตาม region จะลงใน US 64% Europe-ex Euro 16% และ Eurozone 10%

JPMorgan
source:trustnetoffshore data as of 31/07/2015


บลจ. ธนชาต - กอง master คือ  Janus Capital Funds plc - Global Life Sciences Fund เน้นลงทุนในหุ้น Giant 37% และ Large 22% กับ Medium 22%  ซึ่งจะมีหุ้นจำนวน 94 ตัว ใน portfolio หุ้นยักใหญ่ เช่น Johnson & Johnson,  Roche Holding, Sanofi, และ Amgen เน้นการลงทุนใน Pharmaceuticals  39%  และ Life Sciences  Tools  & Services & Biotechnology 37% ซึ่ง Life Sciences  Tools  & Services คือ บริษัทที่ครอบคลุมตั้งแต่ คิดค้นยา  พัฒนา ตลอดจนกระบวนการผลิต โดยใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ ทดสอบ ทดลองผลิตภัณฑ์ และบริการงานวิจัย การจัดจำหน่าย รวมทั้งบริษัทที่ให้บริการด้านเภสัชศาสตร์ (Pharmaceutical) และเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotech) สัดส่วนการลงทุนตาม region จะลงใน US มากเกือบ 80% Eurozone 8%  และ Eurozone - ex Euro 7%

Janus
source:trustnetoffshore data as of 31/07/2015



บลจ. Manulife - กอง master คือ  Manulife Global Fund Healthcare
เน้นลงทุนในหุ้น Giant 57% และ Large 42% ซึ่งจะมีหุ้นใน portfolio เพียงแค่ 32 ตัว  หุ้นยักใหญ่ เช่น Merck & Co, Roche Holding, Amgen และ Novartis เน้นลงใน pharmaceuticals 44%  Healthcare equipment & Supplies 23% สัดส่วนการลงทุนตาม region  จะลงใน US มากที่สุด 75% Europe - ex Euro 8% United Kingdom 8%

Manulife
source:trustnetoffshore data as of 31/07/2015



บลจ. UOB - กอง master คือ UOB United Global Healthcare Fund  เน้นลงทุนในหุ้น Large 30% Giant 20% และกระจายการลงทุนในหุ้นขนาด Medium Small Micro ด้วย  เน้นลงใน pharmaceuticals 29% และ biotech 26%  ลงใน  US  64%  Euro 12% และ Japan 7%

UOB
source:trustnetoffshore data as of 31/07/2015



บลจ. ภัทร - ไม่มีกอง master แต่เป็นการบริหารเอง โดยการเลือกลงทุนในหลายกองทุนรวมในต่างประเทศที่เป็นกองทุนแบบ ETF* ภายใต้หมวดต่างๆในอุตสาหกรรม Healthcare เช่น ETF ของกลุ่มบริษัทยา, ETF ของกลุ่มบริษัท Biotech ซึ่งใน portfolio ของภัทร จะมีกองทุน ETF ประมาณ 8 กอง เน้นการลงทุนใน  Pharma 26% Biotech 24% Healthcare 20% และอื่นๆ ซึ่งผลงานที่ผ่านมาก็ทำได้ดี ผลตอบแทนอยู่เหนือ Benchmark** ทั้งนี้เป็นผลจากการเลือกลงกอง ETF ที่ให้ผลตอบแทนดี เช่น หมวด Biotech เป็นตลาดที่เติบโตสูงมากในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา หากคำนวณจาก NASDAQ Biotechnology Index  ให้ผลตอบแทน ประมาณ 35% ต่อปี *** ข้อดีของการลงทุนใน ETF คือจะเป็นการกระจายความเสี่ยงจากการมีหุ้นหลายตัว แต่ข้อเสียของการลงทุนมากกว่า 1 กอง ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายมากขึ้นด้วย
Phatra
source: FIN - App กองทุนรวม Mutual Fund


หมายเหตุ 
*ETF คือ exchange traded fund หรือเป็นการลงทุนในหุ้นที่มีศักยภาพสูงตามดัชนีอ้างอิงเพื่อให้ได้ผลตอบแทนตามดัชนีอ้างอิงของอุตสาหกรรมนั้นๆ ตัวอย่าง ดัชนี Set 50 ถ้าลงในกองทุน ETF Set 50 ผลตอบแทนจะได้ใกล้เคียง Set 50 Index จัดเป็น กองกลยุทธ์แบบ passive
**MSCI World Health Care Index เป็น Index ที่รวบรวมสัดส่วนหุ้นในทุกหมวดของอุตสาหกรรม healthcare ทั่วโลก
***คำนวณจาก NASDAQ Biotechnology Index data as of Aug 3, 2015
****ข้อมูล portfolio จาก FIN - App กองทุนรวม Mutual Fund สามารถ download ได้ที่ https://itunes.apple.com/th/app/fin-app-kxngthun-rwm-mutual/id972662339?mt=8


บลจ. Tisco - ไม่มีกอง master แต่เป็นการบริหารเอง โดยการเลือกลงทุนในหลายกองทุนรวมในต่างประเทศที่มีศักยภาพสูงของอุตสาหกรรม healthcare หรืออาจจะมีกองทุนแบบ ETF ร่วมอยู่ด้วยขึ้นอยู่กับสถานการณ์ แต่เน้นกลยุทธ์แบบ Active เพื่อผลตอบแทนสูงสุด ใน portfolio จะมีกองทุน ประมาณ 8 กอง ซึ่งมีกองที่เป็นที่รู้จักดีของ janus, JPMorgan และ Wellington แต่ที่โดดเด่นและทำผลตอบแทนเหนือกว่าก็มี อย่าง ของ Franklin Templeton, UBS เป็นต้น ถือว่าเป็นกองทุนที่น่าจับตามองอีกกองเช่นกัน ข้อดีคือ จะคัดกองทุนที่มีผลตอบแทนที่ดี ข้อเสียคือ แม้ว่าจะได้ผลตอบแทนดีแต่ก็มีความเสี่ยงตามมาด้วย บวกค่าใช้จ่ายการบริหารกองทุนมากขึ้น  

Tisco
source: FIN - App กองทุนรวม Mutual Fund

Price comparision 

TEMBDAI:LX -  Franklin Templeton, UBSEBIO;LX - UBS ผลตอนแทนเหนือ janus (Data as of Aug 03 2015, Bloomberg)



มองอย่างไรต่ออนาคตอุตสาหกรรม Healthcare


จากการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 2011 ส่งผลให้ P/E ratio จาก 14 เท่า จนมาถึงช่วงเวลาปัจจุบันประมาณ 25 เท่า ทำให้ถูกมองว่า P/E สูงและมีราคาแพงและอาจจะปรับตัวลดลง แต่อย่างไรก็ตามไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าจะเกิดเหตุการณ์ฟองสบู่หรือไม่ ดังนั้นควรระวังความเสี่ยงระยะสั้นที่อาจจะเกิด และปัจจัยอื่นๆ เช่น Patent Cliff ของอุตสาหกรรมยา คือ ช่วงที่สิทธิบัตรของตัวยาที่มีชื่อเสียงกำลังจะทยอยหมดอายุ ทำให้มีคู่แข่งที่สามารถผลิต Generic Drugs ได้ในต้นทุนที่ถูกกว่า ส่งผลต่อการแข่งขันที่สูงขึ้น การต่อต้านนโยบาย Obama care ของฝ่ายค้าน replublican  อาจส่งผลต่อนโยบายหากได้รับการเลือกตั้งในปี 2016 ส่วนระยะยาวยังคงเติบโตตามโครงสร้างของจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก โดยคาดการณ์ว่า จะมีผู้สูงอายุในปี 2050 กว่า 2 พันล้านคน ในขณะที่ US มีคนอเมริกันจ่ายค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ยกว่าแปดพันเหรียญสหรัฐต่อคนต่อปี และมีแนวโน้มผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอีก 17.5 ล้านคนในปี 2025 ซึ่งนั่นหมายถึงค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มมากขึ้น บวกกับหากยังมีการใช้นโยบาย Obama care อยู่ จะทำให้ มีผู้มีสิทธิเข้าถึงประกันสุขภาพและบริการด้านสุขภาพอีกกว่า 33 ล้านคนในปี 2022 และประเทศเกิดใหม่อย่าง จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เป็นต้น มีแนวโน้มของค่าใช้จ่ายด้าน Healthcare เพิ่มขึ้น ซึ่งประเทศจีนจะมีผู้สูงอายุถึง 248 ล้านคนในปี 2020 นอกจากรับผลประโยชน์จาก Aging Sociaty แล้ว ยังมีการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่เกิดจากมลภาวะ ความรุนแรงของโรค โรคที่มีความซับซ้อน เป็นต้น








สรุปคือ หากผู้ลงทุนสนใจลงทุนในกลุ่ม healthcare แต่ไม่แน่ใจว่าราคาได้สูงไปแล้วหรือไม่ ควรใช้วิธีแบบ เฉลี่ยการลงทุน (DCA) และเน้นการลงทุนแบบระยะยาว

Sunday, June 14, 2015

LTF/RMF อย่าคิดว่ากองไหนๆ ก็เหมือนกัน อย่าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่สนใจ

LTF/RMF อย่าคิดว่ากองไหนๆ ก็เหมือนกัน อย่าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่สนใจ เพราะจะทำให้เสียโอกาส คุณสามารถสับกองทุนได้เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเดิม ยกตัวอย่าง LTF 

มาดูผลตอบแทน LTF กันก่อนการตัดสินใจสับกองทุน
Top ผลตอบแทนสูงสุด 3 ปี ของ LTF อยู่ที่ 70.37% ต่ำสุด ประมาณ 2%
Top ผลตอบแทนสูงสุด 5 ปี ของ LTF อยู่ที่ 177.76% ต่ำสุด ประมาณ 6%

จะเห็นว่าถ้าเราไม่ทำอะไรปล่อยทิ้งไว้ 3-5ปี ความแตกต่างของผลตอบแทนกองทุนนั้นห่างกันมาก ขึ้นอยู่กับฝีมือการจัดการของแต่ละกอง และกองที่คุณถืออยู่มีผลตอบแทนเป็นอย่างไร ควรเปลี่ยนแล้วหรือยัง อย่างที่บอกว่า LTF เป็นกองทุนที่ควรดูในระยะกลาง ยาว เพราะคุณต้องถือให้ครบกำหนดระยะเวลา สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ การเอาเงินไว้ในกองทุนระยะยาวโอกาสผลตอบแทนจะติดลบมีน้อยมาก เนื่องจากตลาดหุ้นไทยเรามีทิศทางแบบ Long up trend ขาขึ้นในระยะยาว ดังนั้นควรดูผลตอบแทนกองทุนที่ 3 ปี 5 ปี ขึ้นไป ส่วนผลตอบแทนในระยะสั้นไว้ดูประกอบว่าเราทนการขึ้นลงแรงๆ ตามสภาวะตลาดในขณะนั้นๆ ได้รึเปล่า



จากตารางเปรียบเทียบผลตอบแทนสูงสุด 3 ปี ของกองทุน LTF จาก 15 อันดับแรก พบว่า
  • 14 กอง คือกองทุนที่ลงทุนในหุ้นมากกว่า 70% และ 1 กอง เป็นกองที่มีสัดส่วนลงทุนในหุ้น 70% และ 30% อยู่ในเงินฝาก ตราสารหนี้ ฯลฯ ที่มีสภาพคล่อง หรือความเสี่ยงต่ำ (70/30-D LTF )โดยทั้ง 15 กอง เป็นการจัดการกองทุนแบบ active คือมุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Set Index) 
  • 6 กอง เป็นกองทุนที่ให้เงินปันผลด้วย คือ VALUE-D LTF, MV-LTF, T-LTFD, PHATRA LTFD, 70/30-D LTFและ BIG CAP-D LTF
  • เปรียบเทียบในช่วงขาลงของตลาดหุ้น ระยะ 1M, 3M, 6M มีกองที่ทำได้ดีแม้ว่าจะติดลบ ก็ลบในระดับที่ไม่มาก คือ B-LTF (-1.8,-1.3,-2.3), MS-CORE LTF (-2.8,-1.4,-1.9) , VALUE-D LTF ( -2.9,-1.9,-1.6), CIMB-PRINCIPAL (-3.1, -1.9, +0.9)


จากการวิเคราะห์ข้อมูลข้างต้น ผู้ลงทุนสามารถเลือกว่าจะลงในกองไหนตามรูปแบบที่อยากได้ เช่น
  • ชื่นชอบกองที่ active มากๆ ได้ผลตอบแทนสูง รับได้กับแรงเหวี่ยงของตลาดหุ้น ก็เลือกกองที่ลงในหุ้นเป็นหลัก และให้ผลตอบแทนดี (หลายคนพบว่าลงในกองทุนหุ้นดีกว่ามาเล่นหุ้นเอง ติดลบน้อยกว่าหรือให้ผลตอบแทนที่มากกว่าเล่นเองค่ะ) เช่น CG-LTF, EP-LTF, MS-CORE LTF(กองโดดเด่น ที่ให้ผลตอบแทนลำดับ 3 และยังทำผลงานดีในสภาวะตลาดขาลง ติดลบน้อย) เป็นต้น
  • ชื่นชอบกองที่ active ด้วย แต่อยาก play save ไว้บ้าง เลือกกองที่ลงในหุ้น 70% ในเงินฝาก ตราสารหนี้ ฯลฯ 30% เช่น 70/30-D LTF
  • ชื่นชอบกองที่มีผลประกอบการดี และปันผลด้วย (ยอมรับการหักภาษีจากเงินปันผล 10% ได้) ซึ่งมี 6 กองที่โดดเด่น เช่น VALUE-D LTF, MV-LTF, T-LTFD, 70/30-D LTFและ BIG CAP-D LTF
  • ชื่นชอบกองที่มีผลประกอบการดีด้วย และในช่วงตลาดที่ผันผวนก็ยังสามารถควบคุมให้ติดลบไม่มากได้ ซึ่งตรงนี้มีหลายคนที่ชื่นชอบนะคะ เช่น B-LTF, MS-CORE LTF, VALUE-D LTF, CIMB-PRINCIPAL

ทั้งนี้ผู้ลงทุนสามารถใช้ FIN App ในการ monitor กองทุนที่เราเลือกถืออยู่ว่ายังมีประสิทธิภาพเหมือนเดิมหรือไม่ มีกองไหนทำได้ดีอีก เราสามารถสับเปลี่ยนกองได้ แต่ทั้งนี้ไม่ควรสับเปลี่ยนกองบ่อยๆ เพราะว่ายังมีเรื่องของค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ต้องคิดด้วยค่ะ

บทความรู้ทะลุ LTF ตอน 1 และ 2 ของคุณ TaxBugnoms (บล๊อกภาษีข้างถนน) จะทำให้เข้าใจ LTF และการสับกองทุน ได้มากขึ้นค่ะ

Credit รูป siamchart

Friday, May 29, 2015

Preview clip - Feature ความสามารถต่างๆ ของ FIN - App ดูกองทุนรวม Mutual Fund

ทดลองทำ Clip 30 วินาที เพื่อ demo function ความสามารถของ FIN 2.0 -- App ดูกองทุนรวมบน iOS  ลองดูจาก Youtube link ด้านล่างนี้ครับ 


คำเตือน: Clip นี้เหมาะสำหรับคนรักการออมและการลงทุน ทุกเพศ ทุกวัย โปรดใช้วิจารณญาณในการรับชมและแชร์ต่อ ;D 


ใครยังไม่ได้โหลด FIN App กองทุนรวม Mutual Fund -- โหลดได้เลยครับ ที่ App Store https://itunes.apple.com/th/app/fin-app-kxngthun-rwm-mutual/id972662339?mt=8